วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

onet

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา
ประเภท  Smartphone.
1.  Ubumtu       2.  Iphone  os
3.  Android      4.  Symbian
เฉลยข้อ  1
2.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร.
1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie)
เฉลยข้อ  3
3.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้
1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค      2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค
3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว     4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว
เฉลยข้อ  4
4.ระบบกระดานสนทนาหรือเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งมีความต้องการดังนี้
ก.  ต้องให้ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้โต้ตอบกันได้โดยผู้ใช้
ต้องแสดงตัวตน(ล็อกอิน)เพื่อเข้าระบบก่อน
ข.  ผู้ใช้สามารถตั้งกระทู้หรือเข้าไปตอบกระทู้ที่ตั้งไว้แล้วได้
ค.  ระบบจะบันทึกชื่อผู้ตั้งและผู้ตอบไว้ด้วย
ในการออกแบบฐานข้อมูลดังกล่าวข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง.
1.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้ ตารางกระทู้และตารางคำตอบ
2.  ไม่ต้องสร้างตารางผู้ใช้เนื่องจากสามารถบันทึกชื่อ
ผู้ใช้ในตารางกระทู้และตารางคำตอบได้เลย
3.  ต้องสร้างตารางผู้ใช้และตารางกระทู้ส่วนคำตอบจะอยู่
ในตารางกระทู้อยู่แล้ว
4.  ไม่ต้องสร้างตารางกระทู้เพราะสามารถบันทึกกระทู้ที่ผู้ใช้
ตั้งในตารางผู้ใช้ได้เลย
เฉลยข้อ  4
5.อุปกรณ์ข้อใดคือหน่วยประเมินผลกลางของคอมพิวเตอร์.
เฉลย  CPU
6.ข้อใดเป้นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเมื่อค้นคว้า
หาข้อมูลจากอินเทอร์เนตมาทำรายงาน.
1.  คัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์
2.  ใช้เนื้อหาจากกระดานสนทนา(Web board)มาใส่ในรายงาน
3.  นำรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่ในรายงาน
4.  อ้างอิงชื่อผู้เขียนบทความ
เฉลยข้อ  4
5.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถ
บันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้อง
เขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
1.  Smart  Card          2.  Fingerprint
3.  Barcode                 4.  WiFi
เฉลยข้อ  3
6.ผู้ประกอบอาชีพเป็นผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องเชี่ยวชาญความรู้
ด้านใดบ้างจากตัวเลือกต่อไปนี้.
ก.  ฮาร์แวร์คอมพิวเตอร์       ข.  ระบบปฎิบัติการ
ค.  เว็บเซิร์ฟเวอร์                   ง.  HTML
จ.  ระบบฐานข้อมูล                ฉ.  ภาษาจาวา(Java)
1.  ข้อ  ก และ ค                    2.  ข้อ  ข  และ  จ
3.  ข้อ  ค  และ  ง                   4.  ข้อ  ค  และ  ฉ
เฉลยข้อ  3
7.ข้อใดเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายทั้งหมด.
1.  Wi-Fi  ,  IP              2.  Wi-Fi  ,Bluetooth
3.  3G  ADSL                4.  3G    Ethernet
เฉลยข้อ  2
8.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้
เฉลยข้อ  2
9.ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด.
1.  การบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีใช้เทคโนโลยีแบบแม่เหล็ก
2.  หมายเลขไอพีเป็นหมายเลขที่ใช้กำกับ  Network Interce Card
3.  หน่วยความจำสำรองเป็นหน่วยความจำที่มีคุณลักษณะแบบ Volntile
4.  รหัส ACIIและEBCIDICเป็นการวางรหัสตัวอักษรที่ใช้ขนาด  8 บิด
เฉลยข้อ  3 

ข้อใดคือการขำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
1. E-News 2. E-Sourcing

3. E-Learning 4. E-Payment
เฉลยข้อ 4

คำสั่ง SQL

สรุปคำสั่ง SQL

ในส่วนการสรุปรูปแบบทั่วไปของประโยคคำสั่ง SQL แต่ระบบฐานข้อมูลแต่ละระบบอาจจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนต้องดูคู่มือของ่ระบบฐานข้อมูลนั้นประกอบด้วย
ALTER TABLE tablename [ADD| DROP| MODIFY] columnname; (ดูเพิ่มเติม1, ดูเพิ่มเติม2 ) ใช้สำหรับการเพิ่ม, แก้ไข หรือลบ คอลัมน์ของ table และเปลี่ยนข้อความ เช่น ประเภทข้อมูล ของคอลัมน์ที่มีอยู่ การเลือก ADD, DROP หรือ MODIFY เลือกได้อย่างเดียว
COMMIT; (ดูเพิ่มเติม) บันทึกการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ฐานข้อมูล
CREATE [UNIQUE] INDEX indexname
ON tablename (columnname); (ดูเพิ่มเติม1, ดูเพิ่มเติม2 ) UNIQUE เป็นตัวเลือกการสร้างดัชนีแบบไม่ซ้ำ
CREATE TABLE tablename
(columnname1 datatype [size] [constraint], columnname2 datatype [size] [constraint], . .); (ดูเพิ่มเติม1, ดูเพิ่มเติม2) เป็นคำสั่งสร้าง table การกำหนด size ขึ้นกับประเภทข้อมูล constraint ที่สามารถกำหนดได้ คือ NULL หรือ NOT NULL, UNIQUE (บังคับให้ค่าไม่ซ้ำ), PRIMARY KEY (ระบุ primary key ของ table), CHECK (การยอมให้ตรวจสอบข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง), DEFULT (ให้แทรกค่าเมื่อมีการเพิ่มแถวข้อมูล), FOREIGN KEY (กำหนด foreign key ของ table)
CREATE VIEW tablename AS select statement; (ดูเพิ่มเติม) สร้าง view
DELETE FROM tablename WHERE condition; (ดูเพิ่มเติม) ลบข้อมูล
INSERT INTO tablename (column1, column2,..)
VALUES (value1, value2,..); (ดูเพิ่มเติม)
ROLLBACK;(ดูเพิ่มเติม) เรียกข้อมูลเดิมกลับมา จากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เกิดขึ้น โดยสามารถเรียกกลับจาก COMMIT ครั้งสุดท้าย
SELECT [ALL | DISTINCT] column1[,column2]
FROM table1[,table2]
[WHERE conditions]
[GROUP BY column-list]
[HAVING conditions]
[ORDER BY column-list [ASC | DESC] ]; (ดูเพิ่มเติม) โดย ASC | DESC ให้เลือกวิธีเรียงลำดับข้อมูล
UPDATE tablename
SET column1 = value1, column2 = value2, ..
[WHERE condition]; (ดูเพิ่มเติม) ถ้าไม่มี WHERE clause จะเปลี่ยนค่าตามที่กำหนดทั้งหมด

ตัวอย่างคำสั่ง SQL ใน Visual Basic

คำสั่ง Select

คำสั่ง Select ใช้เป็นประโยคคำสั่งในการส่งออกเรคคอร์ด ตามเกณฑ์ในการเลือก
ไวยากรณ์
SELECT fieldname1, fieldname2,...
FROM tablename1, tablename2,...
[Where Condition]
[Group By]
[Having]
[Order By];
[ ] – ตัวเลือก
แสดงทุกฟิลด์และทุกเรคคอร์ด ใน table เดียว เช่นการข้อทั้งหมดใน table ชื่อ publishers
SELECT * FROM Publishers ;
แสดงบางฟิลด์ ซึ่งชื่อฟิลด์ ที่มีเครื่องหมายพิเศษ หรือมีการเว้นวรรคให้อยู่ในวงเว็บก้ามปู [ ]
SELECT PubID, [Company Name], Address FROM Publishers;
แสดงฟิลด์ที่เป็น expression และตั้งชื่อใหม่ (ให้ใช้ As)
SELECT Author, 2000 - [Year Born] As Age FROM Authors;
การใช้ฟังก์ชัน aggregate
SELECT COUNT ([Year Born]) FROM Authors;
การเลือกเฉพาะเรคคอร์ด ที่ต้องการด้วย WHERE clause
SELECT Name, City FROM Publishers WHERE State = ‘CA’;
การเลือกเฉพาะเรคคอร์ดด้วย WHERE Clause หลายเงื่อนไขต้องเชื่อมด้วย AND หรือ OR เช่น state เป็น CA และ Name ขึ้นต้นด้วย M
SELECT * FROM Publishers WHERE State = ‘CA’ AND name LIKE ‘m%’;

การเรียงและจัดกลุ่ม

การเรียงใช้ ORDER BY clause
SELECT * FROM Publishers ORDER BY [Company Name] ;
การเรียงจากน้อยไปมากให้ใช้คีย์เวิร์ด DESC ต่อท้ายฟิลด์ต้องการเรียงจากน้อยไปมาก
SELECT * FROM Publishers ORDER BY State, City DESC;
การจัดกลุ่มใช้ GROUP BY Clause
SELECT [Year Published], Count (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published];
ให้แสดงจำนวนหนังสือใน 10 ปีสุดท้าย
SELECT TOP 10 [Year Published], COUNT (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published] ORDER BY [Year Published] DESC;
การคัดเลือกด้วยเขื่อนไขของ HAVING Clause เช่น แสดงเฉพาะที่มีจำนวนหนังสือมากกว่า 50
SELECT [Year Published], COUNT (*) As Title In Year FROM Titles
GROUP BY [Year Published] HAVING COUNT ((*) >50);

คิวรี่ย่อย

คิวรี่ย่อย เป็นการใช้ประโยคคำสั่ง Select ภายในประโยคคำสั่ง Select อีกคำสั่งสำหรับการค้นหาที่ซับซ้อน
SELECT * FROM Title WHERE Pub ID =
(SELECT pubID FROM Publishers WHERE Name = ‘MACMILLIAN’);

JOIN

JOIN ใช้สำหรับการดึงข้อมูลจาก 2 table ที่สัมพันธ์กับผ่านฟิลด์ร่วม ถ้าแถวของ table แรกแสดงตามฟิลด์ของ table ที่สอง ให้ใช้ ON clause ในคำสั่ง JOIN
SELECT Title.Title, Titles. [Year Published], Publishers.Name FROM Titles
INNER JOIN Publishers ON Titles.PubID = Publishers.PubID
การใช้ไวยากรณ์ tablename.fieldname เช่น Titles.PubID เมื่อชื่อฟิลด์มีอยู่ใน 2 table ที่เชื่อมกัน
นอกจากมี LEFT JOIN สำหรับการแสดงเรคคอร์ดของ table แรกทั้งหมดถึงแม้จะมีเรคคอร์ดของ table แรกมีค่าของฟิลด์ที่ไม่ตรงกับฟิลด์เชื่อมของ table ที่สอง
SELECT Titles.Title, Titles.[Year Published], Publishers.Name FROM Titles
LEFT JOIN Publishers ON Titles.PubID = Publishers.PubID;
RIGHT JOIN สำหรับการแสดงเรคคอร์ดของ table ที่สองทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีเรคคอร์ดของ table ที่สองมีค่าของฟิลด์ที่ไม่ตรงกับฟิลด์เชื่อมของ table แรก

UNION

การนำ table 2 ต่อกัน สามารถทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ด UNION
SELECT Name, Address, City FROM Customers
UNION SELECT CompanyName, Address, City FROM Suppliers

คำสั่ง Insert Into

คำสั่ง INERT INTO ใช้ในประโยคคำสั่งสำหรับการเพิ่มเรคคอร์ดใหม่
ไวยากรณ์
INERT INTO tablename [(fieldname1, fieldname2,...)]
VALUES (value1, value 2,...);
[ ] ตัวเลือก
หมายเหตุจำนวน value ต้องเท่ากับ fieldname
INERT INTO Authors (Author, [Year Born] VALUES (‘Frank Whale’, 1960);

คำสั่ง Update

คำสั่ง UPDATE ใช้ในประโยคคำสั่งสำหรับการปรับปรุงค่าในเรคคอร์ด
ไวยากรณ์
UPDATE tablename
SET fieldname = expression
WHERE [condition];
[ ] ตัวเลือก
UPDATE Authors SET [Year Born] = 1961 WHERE Author = ‘Frank Whale’;

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน และ Recursion

การส่งออกค่าจากฟังก์ชัน

การส่งค่าออกจากฟังก์ชันใช้คีย์เวิร์ด return เช่นเดียวกับการออกจากฟังก์ชันได้ ถ้าไม่มีการระบุส่งออกฟังก์ชันจะส่งค่า NULL
ตัวอย่าง ฟังก์ชัน get_larger () สาธิตการส่งออกค่า

Recursion

recursion ได้รับการสนับสนุนใน PHP ฟังก์ชันชนิดนี้เป็นการเรียกตัวเองและเป็นประโยชน์กับการบังคับโครงสร้างข้อมูลไดนามิคส์ เช่น รายการเชื่อมโยงและโครงสร้างต้นไม้ (tree)
โปรแกรมประยุกต์เว็บจำนวนไม่มากต้องการโครงสร้างข้อมูลซับซ้อนมากและจำกัดการใช้ เนื่องจาก recursion ช้ากว่าและใช้หน่วยความจำมากกว่าการทำงานวนรอบ ดังนั้นควรเลือกการทำงานแบบวนรอบปกติ ถ้าเป็นไปได้

Scope

Scope

เมื่อต้องการใช้ตัวแปรภายในไฟล์ที่รวม ต้องมีการประกาศตัวแปรเหล่านั้นก่อนประโยคคำสั่ง require () หรือ include () แต่เมื่อใช้ฟังก์ชันจะเป็นการส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์เหล่านั้นไปยังฟังก์ชัน บางส่วนเป็นเพราะไม่มีกลไกส่งผ่านตัวแปรเชิงประจักษ์ไปยังไฟล์ที่รวม และบางส่วนเป็นเพราะ scope ของตัวแปรของฟังก์ชันแตกต่างกัน
การควบคุม scope ของตัวแปรเป็นการทำให้ตัวแปรมองเห็นได้ ใน PHP มีกฎตั้งค่า scope ดังนี้
  • การประกาศตัวแปรภายในฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรให้รับการประกาศภายในวงเล็บปีกกา สิ่งนี้เรียกว่า function scope ตัวแปรเรียกว่า local variable
  • การประกาศตัวแปรภายนอกฟังก์ชันอยู่ใน scope จากประโยคคำสั่งซึ่งตัวแปรได้รับการประกาศที่สิ้นสุดแต่ไม่ใช้ภายในฟังก์ชัน สิ่งนี้เรียกว่า global scope ตัวแปรเรียกว่า global variable
  • การใช้ประโยคคำสั่ง require () และ include () ไม่มีผลกับ scope ถ้าประโยคคำสั่งได้รับการใช้ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย function scope ถ้าไม่ได้อยู่ภายในฟังก์ชัน ประยุกต์ด้วย global scope
  • คีย์เวิร์ด global สามารถระบุได้เองเพื่อกำหนดหรือใช้ตัวแปรภายในฟังก์ชันให้มี scope เป็น global
  • ตัวแปร สามารถลบโดยการเรียก unset ($variable_name) และตัวแปรที่ unset จะไม่มี scope
  • ตัวแปรระดับ superglobal สามารถเข้าถึงได้ทุกส่วนในสคริปต์

ตัวแปรระดับฟังก์ชัน

ตัวแปรระดับฟังก์ชันหรือ local variable เป็นการประกาศเพื่อใช้เฉพาะภายในฟังก์ชัน ไม่สามารถเรียกจากภายนอกฟังก์ชันได้

ตัวแปรระดับ global

ถ้าต้องการนำตัวแปรระดับ global มาใช้ภายในฟังก์ชันต้องประกาศด้วยคีย์เวิร์ด global ก่อนประโยคคำสั่งที่ใช้ตัวแปรนั้น ตัวอย่าง ฟังก์ชัน show_value() ใช้ $newline จากภายนอกฟังก์ชัน
global $newline;

ตัวแปรสถิตย์

การประกาศตัวแปรสถิตย์ใช้ คีย์เวิร์ด static เมื่อมีการเรียกใช้ฟังก์ชัน โปรแกรมจะกำหนดค่าตัวแปรตามที่ระบุเพียงครั้งเดียว ถ้าเรียกซ้ำอย่างต่อเนื่องค่านี้จะเปลี่ยนแปลงตามการคำนวณ

พารามิเตอร์

พารามิเตอร์

ตามปกติฟังก์ชันส่วนใหญ่ต้องการรับสารสนเทศจากผู้เรียกสำหรับการประมวลผล โดยทั่วไปเรียกว่า พารามิเตอร์

ไวยากรณ์พื้นฐาน

การกำหนดฟังก์ให้รับพารามิเตอร์ส่งผ่านโดยการวางข้อมูล ชื่อตัวแปรที่เก็บข้อมูลภายในวงเล็บหลังชื่อฟังก์ชัน การเรียกฟังก์ชันที่ประกอบด้วยพารามิเตอร์เขียนดังนี้
<?php
function show_parameter($param1, $param2, $param3)
{
echo <<<PARAM
รายการพารามิเตอร์ <br/>
param1: $param1 <br/>
param2: $param2 <br/>
param3: $param3 <br/>
PARAM;
}
?>
พารามิเตอร์ที่ส่งไปยังฟังก์ชันแยกกันเครื่องหมายจุลภาคภายในวงเล็บ โดยสามารถส่งเป็นนิพจน์สำหรับแต่ละพารามิเตอร์ด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ ผลลัพธ์จากการคำนวณ รวมถึงการเรียกฟังก์ชัน
scope ของพารามิเตอร์จำกัดภายในฟังก์ชัน ถ้าชื่อตัวแปรเหมือนกับตัวแปรใน scope ระดับอื่น พารามิเตอร์นี้ "ระบุ" เป็นตัวแปรภายในที่ไม่มีผลกับตัวแปรภายนอกฟังก์ชัน

การส่งผ่านโดยค่า(By Value)

ตามปกติการส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันเป็นการส่งผ่านค่า การเปลี่ยนแปลงจะจำกัดภายในเฉพาะภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่างฟังก์ชัน new_value () ที่ยอมให้เพิ่มค่า 

การส่งผ่านโดยการอ้างอิง (By Reference)

ตามตัวอย่างฟังก์ชัน new_value ถ้าต้องการให้ฟังก์ชันเปลี่ยนแปลงค่าได้ มีวิธีหนึ่งในการแก้ไขคือ ประกาศ $value ในฟังก์ชันเป็น global แต่หมายความว่าในการใช้ฟังก์ชันนี้ ตัวแปรที่ต้องการเพิ่มค่าต้องตั้งชื่อเป็น $value แต่มีวิธีดีกว่าคือ ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิง
การอ้างอิงไปตัวแปรต้นทางแทนที่มีค่าของตัวเอง การปรับปรุงไปยังการอ้างอิงจะมีผลกับตัวแปรต้นทางด้วยการระบุพารามิเตอร์ที่ใช้การส่งผ่านโดยการอ้างอิงให้วาง ampersand (&) หน้าชื่อพารามิเตอร์ในข้อกำหนดฟังก์ชัน

จำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์

การส่งผ่านพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันนั้น การควบคุมของ PHP ได้กำหนดฟังก์ชันจำนวนหนึ่งให้ยอมรับจำนวนตัวแปรของพารามิเตอร์ ได้แก่ func_num_args, func_get_arg และ func_get_args
func_num_args() บอกจำนวนพารามิเตอร์ไปยังฟังก์ชันที่เรียก func_get_arg() แสดงค่าของพารามิเตอร์ตามดัชนี และ func_get_args() ส่งออก array ของพารามิเตอร์

การเรียกฟังก์ชันและการหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน

การเรียกฟังก์ชัน

เมื่อฟังก์ชันได้รับการประกาศหรือสร้างขึ้นแล้ว การเรียกฟังก์ชันสามารถเรียกมาจากที่ใดๆ ภายในสคริปต์ หรือ จากไฟล์ที่มีการรวมด้วยประโยคคำสั่ง include() หรือ require()

การหยุดประมวลผลภายในฟังก์ชัน

คีย์เวิร์ด return หยุดการประมวลผลฟังก์ชัน ฟังก์ชันสิ้นสุดได้เพราะประโยคคำสั่งทั้งหมดได้รับการประมวลผล หรือ ใช้คีย์เวิร์ด return การประมวลผลกลับไปยังประโยคคำสั่งต่อจากการเรียกฟังก์ชัน
ถ้าประโยคคำสั่ง return ได้รับการประมวลผล บรรทัดคำสั่งต่อไปในฟังก์ชันจะถูกข้ามไป และกลับไปยังผู้เรียกฟังก์ชันนี้ ในฟังก์ชันนี้ ถ้า y เป็น 0 จะหยุดการประมวลผล ถ้า y ไม่เท่ากับ 0 จะคำนวณผลหาร
สมมติป้อนค่าเป็น
x = 4, y = 0
x = 4
x = 4, y = 2
ผลลัพธ์ของคำสั่ง คือ
x = 4, y = 0 ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = ผลลัพธ์ ตัวหาร y ต้องไม่เป็นศูนย์หรือไม่มีค่า
x = 4, y = 2 ผลลัพธ์ 2

การตั้งชื่อฟังก์ชัน

การตั้งชื่อฟังก์ชัน

สิ่งสำคัญมากในการพิจารณาเมื่อตั้งชื่อฟังก์ชันคือชื่อต้องสั้นแต่มีความหมาย ถ้าฟังก์ชันสร้างส่วนตัวของเพจควรตั้งชื่อเป็น pageheader () หรือ page_header ()
ข้อจำกัดในการตั้งชื่อคือ
  • ฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกับฟังก์ชันที่มีอยู่
  • ชื่อฟังก์ชันสามารถมีได้เพียงตัวอักษรตัวเลข และ underscore
  • ชื่อฟังก์ชันไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
หลายภาษายอมให้ใช้ชื่อฟังก์ชันได้อีก ส่วนการทำงานนี้เรียกว่า function overload อย่างไรก็ตาม PHP ไม่สนับสนุน function overload ดังนั้นฟังก์ชันไม่สามารถมีชื่อเดียวกันกับฟังก์ชันภายใน หรือฟังก์ชันกำหนดเองที่มีอยู่

ฟังก์ชันใน PHP

ฟังก์ชันใน PHP 

ฟังก์ชันในโปรแกรมส่วนใหญ่ได้รับการเรียกคำสั่งเพื่อทำงานอย่างเดียว สิ่งนี้ทำให้คำสั่งอ่านได้ง่ายและยอมให้ใช้คำสั่งใหม่แต่ละครั้งเมื่อต้องการทำงานเดียวกัน
ฟังก์ชันเป็นโมดูลเก็บคำสั่งที่กำหนดการเรียกอินเตอร์เฟซ ทำงานเดียวกัน และตัวเลือกส่งออกค่าจากการเรียกฟังก์ชัน คำสั่งต่อไปเป็นการเรียกฟังก์ชันอย่างง่าย
my_function ();
คำสั่งเรียกฟังก์ชันชื่อ my_function ที่ไม่ต้องการพารามิเตอร์ และไม่สนใจค่าที่อาจจะส่งออกโดยฟังก์ชันนี้
ฟังก์ชันจำนวนมากได้รับการเรียกด้วยวิธีนี้ เช่น ฟังก์ชัน phpinfo () สำหรับแสดงเวอร์ชันติดตั้งของ PHP สารสนเทศเกี่ยวกับ PHP การตั้งค่าแม่ข่ายเว็บ ค่าต่างๆ ของ PHP และตัวแปร ฟังก์ชันนี้ไม่ใช้พารามิเตอร์และโดยทั่วไปไม่สนใจค่าส่งออก ดังนั้นการเรียก phpinfo () จะประกอบขึ้นดังนี้
phpinfo ();

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเภทของฟิลด์

ประเภทของฟิลด์

DATETIME : เป็นฟิลด์ชนิดที่เหมาะสมกับการเก็บข้อมูลวันที่ และเวลา สมดังชื่อของมันนั่นแหละครับ โดยจะเก็บได้ตั้งแต่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 เวลา 00:00:00 ไปจนถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 เวลา 23:59:59 ครับ โดยรูปแบบการแสดงผล เวลาที่ทำการสืบค้น (query) ออกมา จะเป็น YYYY-MM-DD HH:MM:SS ครับ

TIMESTAMP[(M)] : เอาไว้เก็บเวลาเช่นกันครับ แต่จะเก็บในรูปแบบของ YYYYMMDDHHMMSS หรือ YYMMDDHHMMSS หรือ YYYYMMDD หรือ YYMMDD แล้วแต่ว่าเราจะระบุค่า M เป็น 14, 12, 8 หรือ 6 ตามลำดับ โดยความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว การเก็บค่า วันเดือนปี และเวลา ในรูปแบบนี้มันเอาไปใช้งานสะดวกดีไม่หยอก (ผมชอบเก็บในรูปแบบ YYYYMMDDHHMMSS และ YYYYMMDD มากทีเดียว)... เราสามารถเก็บได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไปจนถึงแถวๆ ปี ค.ศ. 2037 ครับ

TIME : อันนี้เอาไว้เก็บเวลาครับ มีค่าได้ตั้งแต่ -838:59:59 ไปจนถึง 838:59:59 โดยจะแสดงผลออกมาในรูปแบบ HH:MM:SS

YEAR[(2/4)] : อันนี้ก็สมดังชื่อครับ คือเอาไว้เก็บปี ในรูปแบบ YYYY หรือ YY แล้วแต่ว่าจะเลือก 2 หรือ 4 (หากไม่ระบุ จะถือว่าเป็น 4 หลัก) โดยหากเลือกเป็น 4 หลัก จะเก็บค่าได้ตั้งแต่ ค.ศ. 1901 ถึง 2155 แต่หากเป็น 2 หลัก จะเก็บตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ครับ

ข้อสังเกต
มีข้อสังเกตเกี่ยวกับฟิลด์ชนิด TIMESTAMP และ YEAR นิดหน่อยครับ นั่นก็คือ

ค่าที่เก็บในฟิลด์ชนิด TIMESTAMP นั้นจะมีความสามารถพอๆ กับ การเก็บข้อมูลวันเดือนปี และเวลา ด้วยฟิลด์ชนิด VARCHAR แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้เนื้อที่เก็บข้อมูลน้อยกว่า... ทว่า ฟิลด์ประเภท TIMESTAMP นั้นจะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาที่สามารถเก็บได้ คือจะต้องอยู่ในระหว่าง 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ไปจนถึงแถวๆ ค.ศ. 2037 อย่างที่บอก แต่หากเก็บเป็น VARCHAR นั้นจะไม่ติดข้อจำกัดนี้
ฟิลด์ชนิด YEAR ก็เช่นกันครับ... ใช้เนื้อที่แค่ 1 ไบต์เท่านั้นในการเก็บข้อมูล แต่ข้อจำกัดจะอยู่ที่ ปี ค.ศ. 1901 ถึง 2155 เท่านั้น (หรือ ค.ศ. 1970 ถึง 2069 ในกรณี 2 หลัก) แต่หากเก็บเป็น VARCHAR จะได้ตั้งแต่ 0000 ถึง 9999 เลย อันนี้เลยอยู่ที่ความจำเป็นมากกว่าครับ (แต่ด้วยความที่ว่า ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ราคาถูกมากๆ ผมเลยไม่ติดใจอะไรที่จะใช้ VARCHAR แทน เพื่อความสบายใจ อิอิ เพราะสมมติว่ากินเนื้อที่ต่างกัน 3 ไบต์ ต่อ 1 ระเบียน มีข้อมูล 4 ล้านระเบียน ก็เพิ่งต่างกัน 12 ล้านไบต์ หรือ 12 เมกะไบต์เท่านั้นเอง ซึ่งหากเทียบกับปริมาณข้อมูลทั้งหมดของข้อมูล 4 ล้านระเบียน ผมว่ามันต้องมีอย่างน้อยเป็นกิกะไบต์ ดังนั้นความแตกต่างที่ไม่กี่เมกะไบต์จึงไม่มากมายอะไรครับ)
CHAR : เป็นข้อมูลประเภท string แบบที่ถูกจำกัดความกว้างเอาไว้คือ 255 ตัวอักษร ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เหมือนกับ VARCHAR ครับ หากเราทำการสืบค้นโดยเรียงตามลำดับ มันก็จะเรียงข้อมูลแบบ case-sensitive คือ คำนึงถึงตัวอักษรเล็ก และใหญ่ เว้นเสียแต่เราจะกำหนดแอตทริบิวต์เป็น BINARY ที่จะทำให้การเรียงข้อมูลเป็นแบบ non case-sensitive ครับ คือ ตัวอักษรใหญ่ และเล็ก มีค่าเท่ากัน

TINYBLOB : ฟิลด์ชนิด BLOB นั้นจะมีไว้เพื่อเก็บข้อมูลประเภทไบนารี พูดง่ายๆ คือพวก ไฟล์ข้อมูลต่างๆ, ไฟล์รูปภาพ, ไฟล์มัลติมีเดีย เป็นต้น คือไฟล์อะไรก็ตามที่อัพโหลดผ่านฟอร์มอัพโหลดไฟล์ในภาษา HTML ประมาณนั้น (จะกล่าวถึงภายหลังแน่นอน ตอนที่จะลองประยุกต์พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสักตัว) โดย TINYBLOB นั้นจะมีเนื้อที่ให้เก็บข้อมูลได้ 256 ไบต์ ครับ

TINYTEXT : ในกรณีที่ข้อความยาวๆ หรือต้องการที่จะค้นหาข้อความ โดยอาศัยฟีเจอร์ FULL TEXT SEARCH ของ MySQL (จะกล่าวถึงในตอนประยุกต์การพัฒนาเว็บบอร์ด) เราอาจจะเลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลลงในฟิลด์ประเภท VARCHAR ที่มีข้อจำกัดแค่ 256 ตัวอักษร แต่เราจะเก็บลงฟิลด์ประเภท TEXT แทน (ต้องขออภัยที่ผมลืมอธิบายส่วนนี้ ตอนที่พูดถึง TEXT)... TINYTEXT นี้ จะให้เราเก็บข้อมูลได้ 256 ตัวอักษร ครับ ซึ่งมองเผินๆ ก็ไม่ต่างกับเก็บลงฟิลด์ประเภท CHAR หรือ VARCHAR(255) เลย แต่จริงๆ มันต่างกันตรงที่ มันทำ FULL TEXT SEARCH ได้ไงครับ

BLOB : เหมือน TINYBLOB ครับ แต่สามารถเก็บข้อมูลได้ 64KB

MEDIUMBLOB : เหมือน TINYBLOB เช่นกัน แต่เก็บข้อมูลได้ 16MB ครับ

MEDIUMTEXT : เหมือน TEXT ครับ แต่เก็บข้อมูลได้ 16,777,215 ตัวอักษร ครับ

LONGBLOB : เหมือน TINYBLOB เช่นกัน แต่เก็บข้อมูลได้ 4GB ครับ

LONGTEXT : เหมือน TEXT ครับ แต่เก็บข้อมูลได้ 4,294,967,295 ตัวอักษร ครับ

ข้อสังเกต
ฟิลด์ประเภท BLOB นั้น แม้จะมีประโยชน์ในเรื่องของการเก็บข้อมูลประเภท BINARY ให้อยู่กับตัวฐานข้อมูล ทำให้สะดวกเวลาสืบค้นก็ตาม แต่มันก็ทำให้ฐานข้อมูลบวมเกินความจำเป็นด้วยครับ ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการสำรองฐานข้อมูลในกรณีที่ มีข้อมูลอัพโหลดไปเก็บมากๆ โดยปกติแล้ว เราจะใช้วิธีการอัพโหลดไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์ แล้วเก็บลิงก์ไปยังไฟล์เหล่านั้น เป็นฟิลด์ชนิด VARCHAR มากกว่า ครับ

SMALLINT : เป็นฟิลด์สำหรับเก็บข้อมูลชนิดตัวเลขที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยครับ คือ 16 บิต จึงสามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ -32768 ถึง 32767 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 65535 (ในกรณี UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) แน่นอนครับ สามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT

MEDIUMINT : เช่นเดียวกับ SMALLINT ครับ แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีก ก็คือ 24 บิต ครับ นั่นก็หมายความว่าสามารถเก็บข้อมูลตัวเลขได้ตั้งแต่ -8388608 ไปจนถึง 8388607 (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 16777215 (ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) แน่นอนครับ สามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT

INT : เช่นเดียวกับ SMALLINT เช่นกัน แต่งานนี้จะเป็นขนาดปกติคือ 32 บิต หรือสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ -2147483648 ไปจนถึง 2147483647 ครับ (ในกรณีแบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 4294967295 (ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) แน่นอนครับ สามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT

BIGINT : ในกรณีที่ต้องการเก็บค่าตัวเลขแบบเยอะเวอร์สุดๆ ก็ใช้นี่เลยครับ เหอๆ เก็บข้อมูลแบบ 64 บิต สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ -9223372036854775808 ไปจนถึง 9223372036854775807 เลยทีเดียว (แบบคิดเครื่องหมาย) หรือ 0 ถึง 18446744073709551615 (ในกรณีที่เป็น UNSIGNED หรือไม่คิดเครื่องหมาย) แน่นอนครับ สามารถเลือก Attribute เป็น UNSIGNED และ UNSIGNED ZEROFILL ได้เช่นเดียวกับ TINYINT... แต่ผมไม่เคยเจอใครเขาต้องใช้ถึงขนาดนี้ซะทีนะครับ

FLOAT[(M,D)] : ที่กล่าวถึงไปทั้งหมด ในตระกูล INT นั้นจะเป็นเลขจำนวนเต็มครับ หากเราบันทึกข้อมูลที่มีเศษทศนิยม มันจะถูกปัดทันที ดังนั้นหากเราต้องการจะเก็บค่าที่เป็นเลขทศนิยม เราต้องเลือกชนิดขอฟิลด์เป็น FLOAT ครับ อันนี้จะเก็บข้อมูลแบบ 32 บิต คือมีค่าตั้งแต่ -3.402823466E+38 ไปจนถึง -1.175494351E-38, 0 และ 1.175494351E-38 ถึง 3.402823466E+38...

DOUBLE[(M,D)] : ในกรณีที่ต้องการเก็บเลขทศนิยมในระดับที่ละเอียดแบบสุดๆ ไปเลย ก็ต้องเลือกชนิดนี้ครับ เพราะจะเก็บข้อมูลแบบ 64 บิต  สามารถเก็บได้ตั้งแต่ -1.7976931348623157E+308 ถึง -2.2250738585072014E-308, 0 และ 2.2250738585072014E-308 ถึง 1.7976931348623157E+308 (แต่ก็อีกนั่นแหละ ผมไม่เคยเจอใครต้องเก็บอะไรละเอียดขนาดนี้อ่ะนะ)

DECIMAL[(M,D)] : อันนี้ต้องสารภาพตามตรงว่าอ่านจากข้อมูลที่หามาได้ แล้วก็งงครับ คือเขาบอกว่า เป็นข้อมูลชนิดตัวเลขแบบ unpacked คือ อนุญาตให้สามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรเข้าไปได้ด้วย แต่จากการที่ผมลองใช้งานดู มันก็ไม่แตกต่างอะไรไปจาก ฟิลด์ชนิด DOUBLE เลย สามารถเก็บข้อมูลได้เท่ากัน และมีการใช้งานที่เหมือนกัน... ผมลองกรอกข้อมูลแบบเป็นตัวเลขปนตัวอักษรไป มันก็ไม่นับตัวอักษร และตัวเลขใดๆ ที่อยู่ตามหลังตัวอักษรครับ

มีข้อสังเกตนิดนึง เกี่ยวกับข้อมูลชนิด FLOAT, DOUBLE และ DECIMAL ก็คือ เวลากำหนดความยาวของข้อมูลในฟิลด์ เราจะกำหนดในรูปแบบ (M,D) ซึ่งหมายความว่า เราต้องระบุด้วยว่า จะให้มีตัวเลขส่วนที่เป็นจำนวนเต็มกี่หลัก และมีเลขทศนิยมกี่หลักครับ... เช่น ถ้าเรากำหนดว่า FLOAT(5,2) จะหมายความว่า เราจะเก็บข้อมูลเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม 5 หลัก และทศนิยม 2 หลัก... ดังนั้นหากเราใส่ข้อมูล 12345.6789 เข้าไป สิ่งที่จะเข้าไปอยู่ในข้อมูลจริงๆ ก็คือ 12345.68 ครับ (ปัดเศษให้มีจำนวนหลักตามที่เรากำหนด)

VARCHAR : เอาไว้เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษรครับ ทุกครั้งที่เลือกชนิดของฟิลด์เป็นประเภทนี้ จะต้องมีการกำหนดความยาวของข้อมูลลงไปด้วย ซึ่งสามารถกำหนดได้ตั้งแต่ 1 - 255 ครับ... ฟิลด์ชนิดนี้ เหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลสั้นๆ เช่น ชื่อ นามสกุล หรือหัวข้อต่างๆ เป็นต้น... ในส่วนฟิลด์ประเภทนี้ จะสามารถเลือก "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ได้ครับ... ปกติแล้วการจัดเรียงข้อมูลเวลาสืบค้น (query) สำหรับ VARCHAR จะเป็นแบบ case-sensitive (ตัวอักษรใหญ่ และเล็กมีความหมายแตกต่างกัน) แต่หากระบุ "แอตทริบิวต์" เป็น BINARY ปุ๊บ การสืบค้นจะไม่คำนึงตัวอักษรว่าจะเป็นตัวใหญ่ หรือตัวเล็กละครับ

TINYINT : ข้อมูลประเภทตัวเลขครับ แต่มีขนาดสูงสุดได้แค่ 8 บิต... ข้อมูลประเภทนี้เราสามารถกำหนดเพิ่มเติมในส่วนของ "แอตทริบิวต์" ได้ว่าจะเลือกเป็น UNSIGNED หรือ UNSIGNED ZEROFILL โดยจะมีความแตกต่างดังนี้

UNSIGNED : จะหมายถึงเก็บค่าตัวเลขแบบไม่มีเครื่องหมาย หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่เก็บค่าลบเด็ดขาดนั่นเอง... แบบนี้จะทำให้สามารถเก็บค่าได้ตั้งแต่ 0 - 255 ครับ
UNSIGNED ZEROFILL : เหมือนข้างต้นครับ แต่ว่าหากข้อมูลที่กรอกเข้ามาไม่ครบตามจำนวนหลักที่เรากำหนด ตัว MySQL จะทำการเติม 0 ให้ครบหลักเองครับ... เช่นเรากำหนดให้ใส่ได้ 3 หลัก แล้วเราเก็บข้อมูล 25 เข้าไป เวลาเราสืบค้นดู เราจะได้ค่าออกมาเป็น 025 ครับ
หากเราไม่เลือก "แอตทริบิวต์" สิ่งที่เราจะได้ก็คือ SIGNED ครับ นั่นก็คือต้องเสียบิตนึงไปเก็บเครื่องหมาย บวก/ลบ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้อยู่ในช่วง -128 ถึง 127 เท่านั้น

TEXT : เอาไว้เก็บข้อมูลประเภทตัวอักษร แต่สามารถเก็บได้มากขึ้นครับ โดยสูงสุดคือ 65,535 ตัวอักษร หรือ 64KB นั่นเอง... เหมาะสำหรับเก็บข้อมูลพวกเนื้อหาต่างๆ ที่ยาวๆ ครับ...


DATE : เอาไว้เก็บข้อมูลประเภทวันที่ โดยเก็บได้จาก 1 มกราคม ค.ศ. 1000 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 9999 โดยจะแสดงผลในรูปแบบ YYYY-MM-DD  ครับ